ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างสะดวกและเข้าถึงได้ง่าย มิจฉาชีพออนไลน์ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย การทำธุรกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งการขอสินเชื่อออนไลน์ ที่ควรจะเป็นเรื่องที่สะดวกและง่าย กลับกลายเป็นช่องทางที่เหล่า มิจฉาชีพออนไลน์ ใช้เพื่อหลอกลวงเหยื่อ หากคุณไม่ระมัดระวัง อาจตกเป็นเหยื่อได้โดยไม่รู้ตัว มาดูกันว่าเราจะจับพิรุธเหล่านี้ได้อย่างไร!
5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็น 'มิจฉาชีพออนไลน์'
การฟิชชิ่ง (Phishing)
ฟิชชิ่ง เป็นการหลอกลวงโดยการส่งอีเมลหรือข้อความที่ดูเหมือนจะมาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทใหญ่ๆ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวโดยหลอกให้ผู้รับคลิกลิงก์ ที่แนบมากับข้อความนั้น ซึ่งลิงก์เหล่านั้นอาจนำไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่ถูกออกแบบมาให้ดูเหมือนกับเว็บไซต์จริง
ข้อสังเกต
อีเมลหรือข้อความที่ดูเหมือนจะมาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ แต่มีข้อผิดพลาดในข้อความ เช่น ชื่อองค์กรที่สะกดผิด หรือโดเมนอีเมลที่ไม่ตรงกับองค์กรจริง การเรียกร้องให้รีบดำเนินการกรอกข้อมูลด่วน หรือคลิกที่ลิงก์ทันที โดยหลอกให้ผู้รับคลิกลิงก์ที่แนบมากับข้อความนั้น ซึ่งลิงก์เหล่านั้นอาจนำไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่ถูกออกแบบมาให้ดูเหมือนกับเว็บไซต์จริง
วิธีป้องกัน
- อย่าคลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมลหรือข้อความที่ไม่แน่ใจ หรือจากบุคคลที่ไม่รู้จัก
- ตรวจสอบโดเมนอีเมลหรือ URL ของเว็บไซต์ก่อนกรอกข้อมูลว่าตรงกับองค์กรจริงหรือไม่
- หากสงสัยควรติดต่อองค์กรนั้น ๆ ผ่านช่องทางที่เชื่อถือได้เพื่อยืนยันข้อมูล
การหลอกลวงผ่านโซเชียลมีเดีย
โซเชียลมีเดีย กลายเป็นช่องทางหลักที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง โดยมักจะใช้วิธีการสร้างโปรไฟล์ปลอม อ้างว่าเป็นคนรู้จักหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ จากนั้นจะพยายามขอข้อมูลส่วนตัว หรือเสนอข้อเสนอที่ดูเหมือนเกินความจริง
ข้อสังเกต
โปรไฟล์ที่มีข้อมูลน้อยหรือสร้างขึ้นใหม่ไม่นาน มีการเสนอข้อเสนอที่ดูเกินความจริง หรือมีการขอข้อมูลส่วนตัวผ่านทางข้อความโดยไม่จำเป็น เช่น แอบอ้างหาคนร่วมลงทุนแล้วหลอกให้เหยื่อโอนเงิน โดยใช้ผลตอบแทนสูงล่อให้เหยื่อเชื่อและร่วมลงทุน เมื่อมิจฉาชีพได้เงินจากเราแล้วก็จะหนีหายและไม่สามารถติดต่อได้อีก
มิจฉาชีพ :
“ผมมีธุรกิจมาแรงที่ผลตอบแทนสูงอยากจะแนะนำให้คุณครับ ได้กำไร 10 เท่า!! ลงทุนอย่างเดียวไม่ต้องทำอะไรเลย คุณจะได้กำไรคืนภายใน 1 เดือน แน่นอนครับ”
เหยื่อ:
“ว้าย! รีบโอนเงินไปลงทุนเลยดีกว่า กำไร 10 เท่า!! อยู่บ้านเฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย รวยแน่”
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยพบหน้ามาก่อน
- ตรวจสอบโปรไฟล์ของบุคคลหรือองค์กรที่ติดต่อมาว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่
- อย่ารับข้อเสนอที่ได้รับผลตอบแทนมากเกินจริงหรือคำเชิญจากโปรไฟล์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
สร้างแอปพลิเคชันปลอม
มิจฉาชีพจะสร้างแอปพลิเคชันที่ดูเหมือนแอปพลิเคชันจริง ๆ แต่แอปเหล่านี้ถูกออกแบบมา เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวหรือเงินจากผู้ใช้งาน ดังนั้น การตรวจสอบและดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งที่น่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ข้อสังเกต
แอปพลิเคชันที่มียอดการดาวน์โหลดต่ำ ไม่มีการรีวิวจากผู้ใช้ หรือมีรีวิวการใช้งานที่ถูกร้องเรียนว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ดูเหมือนถูกปลอมแปลง หรือแอปพลิเคชันที่ผิดกฎหมาย และมีการร้องขอสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็นมากเกินไป
วิธีป้องกัน
- ศึกษาค้นหาเกี่ยวกับแอปและอ่านรีวิวก่อนดาวน์โหลดแอป
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น App Store หรือ Google Play Store
- ตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงที่แอปพลิเคชันขอว่าเป็นไปตามความจำเป็นจริงหรือไม่ ก่อนอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลทุกครั้ง
สร้างเว็บไซต์ปลอม
มิจฉาชีพมักสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีลักษณะคล้ายกับเว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น เว็บไซต์ช็อปปิง หรือเว็บไซต์ธนาคาร เพื่อหลอกให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลส่วนตัว เมื่อผู้ใช้งานกรอกข้อมูลเหล่านั้น ข้อมูลจะถูกส่งไปยังมิจฉาชีพแทนที่จะเป็นเว็บไซต์จริง
ข้อสังเกต
URL ของเว็บไซต์มีการสะกดผิดหรือใช้โดเมนที่ไม่คุ้นเคย การออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่ตรงกับเว็บไซต์ต้นฉบับ หรือมีการร้องขอข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินโดยตรง
วิธีป้องกัน
- อย่าคลิกลิงก์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ที่ส่งมาในอีเมลหรือข้อความจากแหล่งที่ไม่รู้จัก มิจฉาชีพมักใช้ฟิชชิ่ง (phishing) เพื่อหลอกให้คุณไปยังเว็บไซต์ปลอมที่ดูเหมือนเว็บไซต์จริง
- ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ว่าตรงกับเว็บไซต์ที่ต้องการใช้งานหรือไม่ และเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือมักจะมีข้อมูลการติดต่อที่ชัดเจน รวมถึงที่อยู่บริษัท หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลที่สามารถตรวจสอบได้ ลองค้นหาข้อมูลเหล่านี้ในอินเทอร์เน็ต เพื่อดูว่าถูกต้องหรือไม่
- หลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน บนเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย และใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีระบบตรวจจับเว็บไซต์ปลอม
การปลอมแปลงตัวตน (Identity Theft)
การปลอมแปลงตัวตนเป็นวิธีที่มิจฉาชีพใช้ในการขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขบัตรเครดิต เพื่อนำไปใช้ในการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายต้องรับผิดชอบต่อการกระทำที่ไม่ได้ก่อขึ้น
ข้อสังเกต
มีการขอใช้ข้อมูลส่วนตัวของคุณในทางที่ผิด เช่น มีการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน และพบการทำรายการที่ผิดปกติ
วิธีป้องกัน
- เก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขบัตรเครดิต ไว้ในที่ปลอดภัย
- ใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัยและไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายๆ บัญชี
- ตรวจสอบบิลและรายการธุรกรรมของคุณอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาความผิดปกติของรายการ
“ด๊อกเตอร์ มันนี่” ให้บริการสินเชื่อออนไลน์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับการบริการที่น่าเชื่อถือและเป็นธรรม สมัครสินเชื่อกับเราอย่างมั่นใจ ปลอดภัยทุกขั้นตอน
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
**ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัท ฯ กำหนด อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ 19% – 24% ต่อปี | สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 10% – 15% ต่อปี
- กู้ได้ทุกอาชีพ
- ดอกต่ำสุด 0.39% ต่อเดือน
- ยืนยันตัวตนอนุมัติออนไลน์
เมื่อกดยืนยันส่งข้อมูล ถือว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรียบร้อยแล้ว