เป็นหนี้อย่างไรให้ 'ไม่เสียเครดิต' และการขอปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน...ที่เหมาะสมกับเรา ?
สิ่งสำคัญที่สุดในการปรับโครงสร้างหนี้ คือ คุณต้องประเมินสถานการณ์รายได้ของคุณก่อนว่าอยู่ในสถานการ์ณที่รายได้ลดลงหรือขาดรายไปเลย และช่วงระยะเวลาที่รายได้ของคุณลดลงหรือขาดรายได้นั้นมีระยะเวลาเท่าใด จากนั้นค่อยพิจารณาความคุ้มค่าของแต่ละทางเลือก บางทางเลือกดูอาจจะดูคุ้มค่าเหมือนว่าคุณเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า แต่การชำระค่างวดในแต่ละเดือนนั้นอาจทำให้เงินคงเหลือของคุณไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือนจนทำให้ต้องกู้เงินมาใช้จ่ายอีก โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
1. ยังจ่ายไหวแต่อยากลดภาระดอกเบี้ย
ถ้ารายรับของคุณไม่เปลี่ยนแปลงมากหรือลดลงเล็กน้อย แบบที่ยังจ่ายหนี้ไหวแต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลงบ้างเพื่อไปใช้จ่ายเรื่องที่จำเป็น คุณสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
1.1 เปลี่ยนประเภทหนี้
จากสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง โดยการเปลี่ยนประเภทหนี้ในลักษณะนี้ ต้องมั่นใจว่าจะสามารถชำระคืนตามงวดที่กำหนดได้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากขึ้น หรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดค้างจ่าย และระยะเวลาการชำระคืนที่ได้รับอนุมัติมาใหม่
1.2 การรีไฟแนนซ์ (refinance)
เป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ ก็คือปิดหนี้จากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า
2. จ่ายไหวแค่บางส่วน
ถ้ารายรับคุณลดลงจนทำให้จ่ายหนี้ได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บหรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา หรือเกิดเหตุอื่น ๆ ที่กระทบรายรับโดยรวมของครอบครัว ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากขึ้น สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับรายรับ ดังนี้
2.1 ลดอัตราดอกเบี้ย
เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว เหมาะกับคนที่รายรับลดลงชั่วคราว เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ลดลงในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะส่วนมากสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาปรับตัวในช่วงที่รายได้ลดกะทันหัน เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน
2.2 พักชำระเงินต้น
การจ่ายคืนเงินกู้ในแต่ละงวดจะประกอบไปด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย ดังนั้น “การพักชำระเงินต้น” ก็หมายความว่า คุณไม่ต้องจ่ายเงินต้นแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักให้พักชำระเงินต้น
วิธีนี้จึงเหมาะกับผู้ที่มีรายได้ลดลงไม่นานและจะสามารถกลับมาชำระหนี้ตามเดิมได้ อาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้น คุณจะต้องตกลงกับสถาบันการเงินให้ดีว่า หลังพักชำระเงินต้นแล้วจะต้องจ่ายคืนแบบไหน ที่สำคัญคือคุณสามารถจ่ายไหวไหม และอาจต้องมีการทำสัญญาใหม่หรือทำเอกสารบันทึกแนบท้ายสัญญาเดิมแล้วแต่กรณี
2.3 ขยายเวลาชำระหนี้
เป็นการเพิ่มระยะเวลาในการจ่ายหนี้ วิธีนี้จะทำให้คุณเป็นหนี้นานขึ้น แต่จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลง ซึ่งคุณสามารถขอขยายเวลาชำระหนี้ได้เป็น การขยายเวลาชำระหนี้เป็นการขยายเวลายืมเงิน ยิ่งยืมเงินนาน คุณยิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรขยายเวลานานเกินไป เพราะการผ่อนน้อย ๆ แต่ผ่อนนาน ๆ จะทำให้คุณต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น
3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด
สำหรับท่านที่มีหนี้เสียเรื้อรัง แต่ยังมีเงินก้อนจากการขายสินทรัพย์ หรือเงินชดเชยจากการออกจากงาน อยากปิดหนี้แต่จำนวนเงินที่มีนั้นไม่พอที่จะจ่ายหนี้ทั้งก้อนได้ ก็อาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการปิดจบด้วยเงินก้อนที่น้อยกว่าหนี้ทั้งก้อนได้
การปิดจบด้วยเงินก้อน หรือที่หลายคนอาจเรียกว่า แฮร์คัต (hair cut) เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้แล้วจ่ายทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีทันที การปิดจบด้วยเงินก้อนแบบนี้ สถาบันการเงินมักมีเงื่อนไขให้จ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ควรลงนามในสัญญาเพราะอาจทำให้ต้องขอปรับโครงสร้างอีกครั้ง
4. จ่ายไม่ไหวเลย
สำหรับท่านที่ไม่มีเงินจ่ายหนี้ หรือท่านที่ต้องออกจากงานกะทันหัน เงินที่มีอาจจะไม่พอที่จะจ่ายหนี้เลย อาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง “การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย” เป็นการหยุดจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดพักชำระแล้ว จะต้องจ่ายคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไปด้วย (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจเป็นการเฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย
ดังนั้นคุณต้องรู้ก่อนว่าการปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบคืออะไร เหมาะกับสถานการณ์แบบไหน และผลที่ตามมาเป็นอย่างไร จากนั้นค่อยตัดสินใจว่าจะปรับหรือไม่ หรือควรเลือกแบบไหน เนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน เมื่อคุณรู้แล้วว่าแบบไหนที่คุณสามารถจ่ายไหว ให้รีบดำเนินการขอปรับโครงสร้างหนี้ หรือขอรับคำปรึกษาจากสถาบันการเงิน ไม่ควรรอจนสถานการ์ณทางการเงินแย่จนไม่สามารถชำระหนี้ต่อได้ เพราะการค้างชำระจะทำให้ทางเลือกในการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินน้อยลงไปอีก
บริษัท ด๊อกเตอร์ มันนี่ พร้อมให้คำปรึกษาการปรับโครงสร้างหนี้ในรูปแบบของรีไฟแนนซ์รถยนต์ โดยไม่ต้องมาสาขา อยู่ที่ไหนก็ทำรายการผ่านแอปพลิเคชันได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือโทร 02-502-8888025
สินเชื่อรถยนต์ ที่ "ด๊อกเตอร์ มันนี่"
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
**ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัท ฯ กำหนด อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ 19% – 24% ต่อปี | สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 10% – 15% ต่อปี
สนใจสมัครสินเชื่อ
- กู้ได้ทุกอาชีพ
- ดอกต่ำสุด 0.39% ต่อเดือน
- ยืนยันตัวตนอนุมัติออนไลน์
เมื่อกดยืนยันส่งข้อมูล ถือว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรียบร้อยแล้ว